''กลยุทธ์ 5R''
''กลยุทธ์ 5R''
การจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สิ่งที่อยู่รอบ
ๆตัวมีผลดีต่อคุณภาพชีวิตคือ รู้จักปกป้องไม่ให้เกิดปัญหามลพิษต่อการดำรงชีวิต
การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้คือ
เรื่องของขยะ ปัญหาขยะ ถือเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย ถ้าดูตัวเลขสถิติแล้วจะพบว่า
ปัจจุบัน ทั่วประเทศมีปริมาณขยะถึง 1.4 ล้านตัน/ปี หรือเฉลี่ยวันละ 38,000 ตัน/วัน
แต่เราสามารถจัดเก็บขยะได้เพียง 31,000 ตัน/วันเท่านั้น
ที่เหลืออีก 70% ยังกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี
ส่วนใหญ่จะกองทิ้งไว้กลางแจ้ง สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากทีเดียว
ในขณะเดียวกัน การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ก็ทำได้น้อย มีขยะที่สามารถนำไปแยกใช้ได้ถึง 6 ล้านตันต่อปี แต่เรากลับนำขยะกลับไปใช้ใหม่ ได้เพียง 2 ล้านตันเท่านั้นเอง
การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สิ่งที่อยู่รอบ
ๆตัวมีผลดีต่อคุณภาพชีวิตคือ รู้จักปกป้องไม่ให้เกิดปัญหามลพิษต่อการดำรงชีวิต
การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้คือ
เรื่องของขยะ ปัญหาขยะ ถือเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย ถ้าดูตัวเลขสถิติแล้วจะพบว่า
ปัจจุบัน ทั่วประเทศมีปริมาณขยะถึง 1.4 ล้านตัน/ปี หรือเฉลี่ยวันละ 38,000 ตัน/วัน
แต่เราสามารถจัดเก็บขยะได้เพียง 31,000 ตัน/วันเท่านั้น
ที่เหลืออีก 70% ยังกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี
ส่วนใหญ่จะกองทิ้งไว้กลางแจ้ง สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากทีเดียว
ในขณะเดียวกัน การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ก็ทำได้น้อย มีขยะที่สามารถนำไปแยกใช้ได้ถึง 6 ล้านตันต่อปี แต่เรากลับนำขยะกลับไปใช้ใหม่ ได้เพียง 2 ล้านตันเท่านั้นเอง
ขยะนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายประการไม่ว่าจะเป็น
การทำให้เกิดทัศนะอุจาด เป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรคนอกจากนี้ยังทำให้ดินเสื่อมและเกิดมลพิษและยังสามารถทำลายแหล่งน้ำได้อีกด้วยยิ่งไปกว่านั้นการเผาขยะจะก่อมลพิษทางอากาศคือทำให้เกิดควันและขี้เถ้านั่นเองกลายเป็นมลพิษทางอากาศต่อเนื่องไปอีกที่สำคัญที่สุดขยะนั้นสร้างปัญหาในการจัดการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมและกำจัด
Cr:http://www.thaigoodview.com/node/106223
5 R ลดปริมาณขยะ
R ตัวแรก
ก็คือ Reduce
คือ การลดการใช้
การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลงลองมาสำรวจกันว่าเราจะลดการบริโภคที่ไม่จำเป็นตรงไหนได้บ้างโดยเฉพาะการลดการบริโภคทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
เช่น น้ำมันก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และแร่ธาตุ ต่าง ๆ การลดการใช้นี้ทำได้ง่ายๆ
โดยการเลือกใช้เท่าที่จำเป็น เช่น
ปิดไฟทุกครั้งที่ไม่ใช้งานหรือเปิดเฉพาะจุดที่ใช้งานปิดคอมพิวเตอร์และเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน
ๆ ถอดปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น กระติกน้ำร้อนออกเมื่อไม่ได้ใช้
เมื่อต้องการเดินทางใกล้ ๆ ก็ควรใช้วิธีเดิน
ขี่จักรยานหรือนั่งรถโดยสารแทนการขับรถไปเอง เป็นต้น
เพียง-เท่านี้เราก็สามารถเก็บทรัพยากรด้านพลังงานไว้ใช้ได้นานขึ้น
ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
R ตัวที่สอง Reuse
10. ทำปุ๋ยด้วยตัวเอง โดยใช้เศษใบไม้ และเศษอาหารเมื่อนำสิ่งเหล่านี้มาจัดการอย่างเหมาะสม
คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ ซึ่งบางอย่างอาจใช้ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง เช่น
การนำชุดทำงานเก่าที่ยังอยู่ในสภาพดีมาใส่เล่นหรือใส่นอนอยู่บ้านหรือนำไป บริจาค
แทนที่จะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ การนำกระดาษรายงานที่เขียนแล้ว 1 หน้า มาใช้ในหน้าที่เหลือหรืออาจนำมาทำเป็นกระดาษโน๊ต
ช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้ได้เป็นจำนวนมาก
การนำขวดแก้วมาใส่น้ำรับประทานหรือนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ต่างๆ
เช่นแจกันดอกไม้หรือที่ใส่ดินสอ เป็นต้น นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่าย
ลดการใช้พลังงานพลังงานแล้วยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและยังได้ของน่ารักๆ
จากการประดิษฐ์ไว้ใช้งานอีกด้วย
R ตัวที่สาม
Recycle
คือ
การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล
หรือนำกลับมาใช้ใหม่เป็นการลดการใช้ทรัพยากรในธรรมชาติจำพวกต้นไม้ แร่ธาตุต่าง ๆ
เช่น ทราย เหล็ก อลูมิเนียมซึ่งทรัพยากรเหล่านี้
สามารถนำมารีไซเคิลได้ยกตัวอย่างเช่น
เศษกระดาษสามารถนำไปรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นกล่องหรือถุงกระดาษ
การนำแก้วหรือพลาสติกมาหลอมใช้ใหม่เป็นขวด ภาชนะใส่ของหรือเครื่องใช้อื่นๆ
ฝากระป๋องน้ำอัดลมก็สามารถนำมาหลอมใช้ใหม่หรือ
R ตัวที่สี่
ก็คือ Repair
ได้แก่การซ่อมหรือแก้ไข
โดยนำสิ่งของเครื่องใช้ที่แตกหักเสียหาย
มาซ่อมหรือแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ใช้ได้ต่อได้นั่นเอง
R ตัวสุดท้าย
ก็คือ Reject
ซึ่งหมายถึงการหลีกเลี่ยงขยะพิษ
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย
ไม่ควรนำภาชนะเปล่าที่เคยบรรจุสารเคมีอันตรายมาใส่วัสดุอื่นโดยเด็ดขาด
วิธีปฏิบัติกลยุทธ์
5R
1. ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์หีบห่อที่ไม่จำเป็น
เมื่อเลือกซื้อสินค้าที่เหมือนกัน ให้ตัดสินใจซื้อ โดยมีบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นน้อยที่สุด หรือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
เมื่อเลือกซื้อสินค้าที่เหมือนกัน ให้ตัดสินใจซื้อ โดยมีบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นน้อยที่สุด หรือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษ
หรือมีพิษตกค้างน้อยกว่า เช่น ปลูกต้นดาวเรืองเพื่อช่วยในการไล่แมลง
ดีกว่าจะซื้อยาฆ่าแมลงมาใช้ หรือนำกระดาษทรายมาขัด แทนที่จะหยอดน้ำมันหล่อลื่น
3. เลือกใช้สินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ได้
สินค้าหลายชนิดได้ออกมาสำหรับการใช้งานมากกว่าหนึ่งครั้ง
สินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ได้อีกนั้นจะช่วยลดปริมาณขยะลงได้
ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดการขยะของแข็ง รวมถึงปริมาณวัตถุดิบและทรัพยากรด้วย
4. ดูแล รักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน
ถ้ามีการดูแล รักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆได้
การลงทุนเลือกซื้อสินค้าที่ใช้งานได้นานนั้น แม้จะมีราคาสูงกว่า
แต่ช่วยประหยัดเงินเราได้เป็นเวลานาน เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
5. ใช้ถุง บรรจุภัณฑ์
หรือสิ่งของต่างๆซ้ำ
ของที่เราใช้ในชีวิตประจำวันสามารถใช้มากกว่าหนึ่งครั้ง
ก่อนจะโยนทิ้งสิ่งของต่างๆให้พิจารณาสักนิดก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำมาใช้ซ้ำอีก
ของที่คุณไม่ค่อยได้ใช้ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในงานปาร์ตี้ อุปกรณ์ขัดเงาพื้น
การไปขอยืมจากเพื่อนบ้าน ครอบครัวคุณ หรือเช่า ย่อมจะช่วยประหยัดเงิน
และทรัพยากรธรรมชาติได้
7. ขาย
หรือบริจาคสิ่งของต่างๆ
แทนที่จะโยนทิ้งขยะของอีกคนหนึ่งอาจะเป็นสมบัติของอีกคนก็ได้
แทนที่จะโยนทิ้งของที่ไม่ใช้แล้ว ลองขาย หรือบริจาคของเหล่านี้
เลือกใช้ของที่ใช้แล้วเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณขยะได้
เพราะของเหล่านี้ราคาไม่สูง และเป็นการใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
8. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
การเข้าร่วมโครงการรีไซเคิลเป็นสิ่งที่ดี
จะดียิ่งขึ้นหากเราเลือกซื้อ และใช้สินค้าที่สามารถรีไซเคิลได้
9. เมื่อมีผลิตภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้อีก (Recycle) ได้
อย่าลืมนำไปรีไซเคิลด้วย
การผลิตสินค้าจากวัสดุที่มา Recycle ได้มักจะใช้พลังงาน
และทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่า
10. ทำปุ๋ยด้วยตัวเอง โดยใช้เศษใบไม้ และเศษอาหารเมื่อนำสิ่งเหล่านี้มาจัดการอย่างเหมาะสม
สิ่งที่เหมือนจะเป็นขยะจะสามารถเปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยธรรมชาติ
ให้กับสวนสวยของคุณ จะช่วยให้ดินสามารถดูดซับอากาศ และน้ำ ลดการกัดเซาะพื้นผิว
และทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป
11. ซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้ที่ยังสามารถซ่อมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้
โดยอย่าพึ่งทิ้ง
12. การหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอันตราย
เช่น ยาฆ่าแมลง น้ำยาขัดพื้น หรือสารเคมีอื่นๆ
13. รู้จักปฏิเสธ หรืองดการใช้สิ่งของที่เห็นว่า เป็นการทำลาย ทรัพยากรและสร้างมลพิษ ให้เกิดขึ้นแก่ สิ่งแวดล้อม
13. รู้จักปฏิเสธ หรืองดการใช้สิ่งของที่เห็นว่า เป็นการทำลาย ทรัพยากรและสร้างมลพิษ ให้เกิดขึ้นแก่ สิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ของกลยุทธ์ 5R
1. รู้จักหมุนเวียน
นำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. รู้จักซ่อมแซมฟื้นฟูสิ่งของเครื่องใช้ที่สึกหรอ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้
3. รู้จักทะนุถนอม บำรุงรักษา สิ่งที่ใช้นั้นให้มีอายุยืนยาว คงทนถาวร ใช้ได้นานที่สุด
4. รู้จักปฏิเสธ หรืองดการใช้สิ่งของที่เห็นว่า เป็นการทำลาย ทรัพยากรและสร้างมลพิษ ให้เกิดขึ้นแก่ สิ่งแวดล้อม
5. รู้จักหมุนเวียนนำสิ่งของที่ทิ้งแล้ว หรือเศษสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว กลับมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ และนำไปใช้ได้
6. รู้จักใช้สิ่งของที่สามารถเติมผลิตภัณฑ์ในภาชนะเติมได้
2. รู้จักซ่อมแซมฟื้นฟูสิ่งของเครื่องใช้ที่สึกหรอ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้
3. รู้จักทะนุถนอม บำรุงรักษา สิ่งที่ใช้นั้นให้มีอายุยืนยาว คงทนถาวร ใช้ได้นานที่สุด
4. รู้จักปฏิเสธ หรืองดการใช้สิ่งของที่เห็นว่า เป็นการทำลาย ทรัพยากรและสร้างมลพิษ ให้เกิดขึ้นแก่ สิ่งแวดล้อม
5. รู้จักหมุนเวียนนำสิ่งของที่ทิ้งแล้ว หรือเศษสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว กลับมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ และนำไปใช้ได้
6. รู้จักใช้สิ่งของที่สามารถเติมผลิตภัณฑ์ในภาชนะเติมได้
7. รู้จักใช้สิ่งของที่สามารถนำชิ้นส่วนมาแลกใหม่ได้
8. รู้จักใช้สิ่งของที่สามารถนำมาหมุนเวียนได้ เช่น การทำปุ๋ยจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมัก
9. เกิดความคิดใหม่ เปลี่ยนวิธีคิด จากความคิดเดิม ที่ก่อเกิดปัญหา กลับมาคิดใหม่ เป็นความคิดที่สร้างสรรค์
10. การแยกขยะช่วยลดภาวะโลกร้อน
11. ช่วยลดปริมาณขยะในสังคมและบ้านของเรา
8. รู้จักใช้สิ่งของที่สามารถนำมาหมุนเวียนได้ เช่น การทำปุ๋ยจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมัก
9. เกิดความคิดใหม่ เปลี่ยนวิธีคิด จากความคิดเดิม ที่ก่อเกิดปัญหา กลับมาคิดใหม่ เป็นความคิดที่สร้างสรรค์
10. การแยกขยะช่วยลดภาวะโลกร้อน
11. ช่วยลดปริมาณขยะในสังคมและบ้านของเรา
12. รักษาสภาพแวดล้อมของเรา
ให้สะอาดสวยงาม น่าอยู่