ประวัติศาสตร์เส้นทางสู่มหาวิทยาลัย
Old Entrance
2504
- เพราะสมัยก่อนมหาวิทยาลัยยังมีน้อย แค่ห้าสถาบัน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รวมทั้งยังไม่มีหน่วยงานกลางเข้ามาดูแลโดยตรง ฉะนั้น การจัดสอบจึงเป็นการร่วมมือกันเองของเหล่ามหาวิทยาลัย
โดยมี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจัดการคัดเลือก
2516
- มหาวิทยาลัยมีมากขึ้น + เกิดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
(คำสั่งแต่งตั้งวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 และ ปี 2520 เปลี่ยนชื่อเป็นทบวงมหาวิทยาลัย)
ทำให้ปีนี้เกิดการสถาปนาการเอ็นทรานซ์ขึ้นอย่างเป็นทางการ
- สอบครั้งเดียว
เลือกหกอันดับ
- เกิดสถาบัน
‘กวดวิชา’
- นักเรียนสอบเทียบ
เพราะไม่ต้องใช้เกรดสอบเข้ามหาวิทยาลัย เช่น สอบหมอได้ตั้งแต่อายุ 16 ตอนเรียนจบเป็นหมอจริงๆ อายุ 22 ปี…เร็วเกินไป
New Entrance
2542-2549
- เกิดการปฏิรูปการสอบครั้งใหญ่
เพราะอยากจะลดความเครียด + ลดปัญหาเรื่องการสอบเทียบ
- จัดสอบสองครั้ง ตุลาคม และ มีนาคม
รู้คะแนนก่อน โดยเอาคะแนนที่ดีที่สุดมาใช้สมัคร
- เลือกอันดับได้สี่อันดับ
เก็บคะแนนสะสมไว้ได้อีกสองปี
- แต่การสอบในเดือนตุลาคม
เด็กยังไม่จบ ม.6 เท่ากับว่า
ทำให้ครูต้องเร่งสอนให้ทันจบ ม.ปลาย ทั้งหมดภายในสองปีครึ่ง
- ในตอนแรก มีแผนจะใช้คะแนนสอบ 90 เปอร์เซ็นต์ + GPA (เกรดเฉลี่ยแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรมัธยมปลายหรือเทียบเท่า)
+ PR (ระดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ในช่วงมัธยมปลาย) รวมเป็น10
เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดปัญหาเรื่องนักเรียนเรียน ม.ปลาย ไม่ครบ
- แต่การวางแผนใช้ระบบ GPA และ PR ไม่ได้บังคับใช้ในปี 2542
เนื่องจากเด็กที่จบ ม.6 ในปี 2542 ต่อต้าน เพราะไม่ได้เตรียมสะสมเกรดมาตั้งแต่เริ่มมัธยมปลาย
- GPA และ PR ถูกใช้จริงในปี 2543 โดยคิดเป็น
10 เปอร์เซ็นต์ + คะแนนสอบอีก 90 เปอร์เซ็นต์
- จากนั้นไม่กี่ปี
มีความพยายามเพิ่มสัดส่วนระบบเกรด เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยความแตกต่างของแต่ละโรงเรียน
แผนนี้ก็เลยถูกต้านและพับเก็บไป
- สุดท้าย ปลายทางก็คือกวดวิชา
Admission
2549
- เปลี่ยนระบบมาเป็นแอดมิชชั่น
เพราะเด็กเริ่มไม่สนใจการเรียนช่วง ม.ปลาย จึงเพิ่มคะแนนเกรดเฉลี่ยสะสม GPAX
(เกรดเฉลี่ยของทุกวิชาที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า)
และเกรดเฉลี่ยกลุ่มสาระ GPA รวมเป็น 30 เปอร์เซ็นต์
- เกิดการสอบ A-NET
(Advanced National Educational Test) และ O-NET (Ordinary
National Educational Test)
- ระบบนี้ใช้คะแนน GPAX
10 เปอร์เซ็นต์ และ GPA รวม 20 เปอร์เซ็นต์ คู่กับ A/O-Net โดยขึ้นอยู่กับแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยว่า
จะใช้ A/O-Net ในสัดส่วนเท่าไร A-Net มีตั้งแต่
0-35 เปอร์เซ็นต์ และ O-Net มีตั้งแต่
35-70 เปอร์เซ็นต์ไปเลย
- แต่…เด็กบอกว่าไม่แฟร์ เพราะแต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานการสอนไม่เหมือนกัน
แล้วจะให้เป็นมาตรฐานทั้งประเทศได้ยังไง ที่สำคัญ ใช้เกรด 30 เปอร์เซ็นต์ไม่ใช่น้อยๆ
- เมื่อไม่มีความเท่าเทียม
เพราะเด็กไม่เชื่อถือข้อสอบกลาง การรับตรงจากมหาวิทยาลัยจึงบูมมาก
2553
- ต้องการแก้ปัญหาเรื่องใช้เกรดเฉลี่ยมากไป
จึงลดสัดส่วน GPAX และ GPA เหลือแค่ GPAX
20 เปอร์เซ็นต์ และใช้รวมกับคะแนน O-Net อีก 30
เปอร์เซ็นต์ (ทุกคณะเหมือนกันหมด)
- เปลี่ยนจาก A-Net
เป็นสอบ GAT/PAT แทน (General Aptitude
Test / Professional A Aptitude Test)
- GAT เป็นการสอบวัดความถนัดทั่วไป
เป็นข้อสอบเชื่อมโยง ไม่ต้องรอให้เรียนจบ สอบได้ตลอดทั้งปี จึงเปิดให้สอบสี่ครั้ง
แล้วเปลี่ยนมาเป็นสามครั้ง และสองครั้ง ตามลำดับ ซึ่งตอนนี้เสถียรอยู่ที่สองครั้ง
- แต่การสอบ GAT-PAT
ไม่ตอบโจทย์กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
จึงเปิดสอบเจ็ดวิชาของกลุ่มแพทย์เอง
- และตอนที่เปิดให้สอบหลายครั้ง
คะแนน GAT/PAT ครั้งแรกจะออกมาเดือนธันวาคม-มกราคม
มหาวิทยาลัยจึงเริ่มเปิดรับตรงตั้งแต่คะแนนครั้งแรกประกาศ
2556
- เพื่อแก้ปัญหากับ
กสพท. และ มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่จัดสอบตรงเอง จึงจัดให้มีการสอบเจ็ดวิชาสามัญ (พ.ศ.
2558 เพิ่มจัดสอบเป็นเก้าวิชาสามัญ)
เป็นข้อสอบกลางใช้รับตรงร่วมกัน
- เกิดระบบเคลียริงเฮาส์
(Clearing House) ขึ้นมาเพื่อยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาสำหรับคนที่ติดรับตรง
และตัดสิทธิ์ออกจากการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั่น
2561
Clearing House /
Entrance is coming back
ช่วงที่ 1 ระบบสอบกลาง ครั้งเดียว คือ การสอบ GAT/PAT และเก้าวิชาสามัญ จะมีขึ้น หลังจากนักเรียนเรียนจบชั้น ม.6 แล้ว โดยจะจัดสอบกลางเดือนมีนาคม โดยใช้ระยะเวลาการจัดสอบประมาณหกสัปดาห์ –
สองเดือน และจะไม่ให้มีการเปิดสอบรับตรงนอกช่วงเวลานี้
แต่หากมหาวิทยาลัยใดมีความจำเป็นต้องเปิดรับตรง
ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นต่อรัฐมนตรี
ช่วงที่ 2 ระบบเคลียริงเฮาส์ อย่างน้อยสองรอบ
เมื่อมีการประกาศผลคะแนนสอบกลาง นักเรียนจะรู้คะแนนของตัวเองก่อน
ทำให้ประมาณได้ว่าจะไปแข่งกับใครหรือหลักสูตรใด
และเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ต้องการได้สี่อันดับ
ผ่านระบบเคลียริงเฮาส์ที่จะมีอย่างน้อยสองรอบ
- รอบแรก
นักเรียนยื่นคะแนนสอบกลางไปที่มหาวิทยาลัยแล้ว
มหาวิทยาลัยก็จะส่งชื่อนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์
และแจ้งให้นักเรียนทราบว่าผ่านการคัดเลือกกี่แห่ง
พร้อมให้เลือกว่าจะยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาที่ใด
หากนักเรียนเลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา
ก็จะถูกตัดสิทธิ์จากระบบเคลียริงเฮาส์รอบสองทันที
- รอบสอง
นักเรียนที่ไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก และนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกแต่ไม่ได้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา
สามารถยื่นคะแนนสอบเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ในรอบสอง
TCAS หรือ Thai
University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
TCAS มีขั้นตอนอย่างไร
ระบบ TCAS
ที่ทาง ทปอ. ได้ประกาศออกมา มี 5 ขั้นตอน
ดังนี้
1. คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน
(Portfolio)
ในรอบนี้จะพิจารณาจากผลงานของนักเรียนที่นำมาใส่ Portfolio ไม่มีการสอบข้อเขียน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่ง อาจจะมีกาสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง โดยการคัดเลือกในรอบนี้เป็นแค่การ Pre-screening เท่านั้น
ในรอบนี้จะพิจารณาจากผลงานของนักเรียนที่นำมาใส่ Portfolio ไม่มีการสอบข้อเขียน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่ง อาจจะมีกาสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง โดยการคัดเลือกในรอบนี้เป็นแค่การ Pre-screening เท่านั้น
2. สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน
สำหรับนักเรียนในพื้นที่
ในรอบนี้จะเป็นการรับนักเรียนแบบโควตา สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือ รอบเขตการศึกษา ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ในขั้นตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบเองได้เลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
ในรอบนี้จะเป็นการรับนักเรียนแบบโควตา สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือ รอบเขตการศึกษา ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ในขั้นตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบเองได้เลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
3. การรับตรงร่วมกัน
ในรอบนี้เป็นการสอบรับตรง ซึ่งโครงการรับตรงอย่าง กสพท. ก็รวมอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยทาง ทปอ. จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัครในรอบนี้ และทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
ในรอบนี้เป็นการสอบรับตรง ซึ่งโครงการรับตรงอย่าง กสพท. ก็รวมอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยทาง ทปอ. จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัครในรอบนี้ และทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
4. การรับ Admission
ในรอบนี้ยังคงใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบ Admission โดยใช้องค์ประกอบของคะแนน อย่างเช่น GPAX, O-NET, GAT/PAT หรืออื่นๆ ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
ในรอบนี้ยังคงใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบ Admission โดยใช้องค์ประกอบของคะแนน อย่างเช่น GPAX, O-NET, GAT/PAT หรืออื่นๆ ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
5. การรับตรงแบบอิสระ
ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้เกณฑ์การสอบที่จัดขึ้นเอง หรือการสอบวิชาเฉพาะ และส่งผลการคัดเลือกให้ทาง ทปอ.
ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้เกณฑ์การสอบที่จัดขึ้นเอง หรือการสอบวิชาเฉพาะ และส่งผลการคัดเลือกให้ทาง ทปอ.
9 วิชาสามัญ คืออะไร?
9 วิชาสามัญ
คือข้อสอบกลางของ สทศ. ที่มีทั้งหมด 9 วิชา
สำหรับสอบเพื่อเอาคะแนนไปยื่นรับตรงกับมหาวิทยาลัย โดยจะมีการสอบปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงเดือน มกราคม ของทุกปี
และเปิดให้เฉพาะนักเรียนที่ศึกษาอยู่ระดับชั้น ม.6 ขั้นไปเท่านั้นที่จะมีสิทธิสอบ
ข้อสอบทั้ง 9 วิชา จะเป็นข้อสอบแบบปรนัย 5 ตัวเลือก
เลือกคำตอบที่ถูกที่สุด 1 คำตอบ มีคะแนนเต็ม 100 คะแนนทั้ง 9 วิชา
1. วิชาภาษาไทย (50
ข้อ)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ
ดังนี้
· การอ่าน
· การวิเคราะห์จุดประสงค์/ เจตนาของผู้เขียน
· การอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหา
· การจับใจความ / การสรุปสาระสำคัญของข้อความ
· การวิเคราะห์ข้อคิด / แนวคิดที่ได้จากการอ่าน
· การอนุมานจากเนื้อหาของข้อความที่อ่าน
· ท่าที/ น้ำเสียง / อารมณ์ความรู้สึก / ความคิดเห็นของผู้เขียน
· การเขียน
· การลำดับข้อความ
· การเรียงความ
· การพรรณนา / บรรยาย / อธิบาย
· การใช้เหตุผล
· การแสดงทรรศนะ
· การโต้แย้ง
· การโน้มน้าว
· การพูด การฟัง
· การวิเคราะห์จุดประสงค์ในการพูด
· การใช้ข้อความถามและตอบที่สัมพันธ์กัน
· การวิเคราะห์น้ำเสียงของผู้พูด
· การตีความ / อนุมาน / วิเคราะห์สาร / บุคลิกภาพของผู้พูดหรือผู้ฟัง
· หลักการใช้ภาษา
· การสะกดคำ
· การใช้คำให้ถูกความหมาย
· ประโยคกำกวม
· ประโยคสมบูรณ์
· ระดับภาษา
· การใช้สำนวนถูกต้องตามความหมาย
· ชนิดของประโยคตามเจตนา
· คำที่มีความหมายตรง / อุปมา
· คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
· ราชาศัพท์
ข้อสอบ
2. วิชาสังคมศึกษา (50
ข้อ)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ
ดังนี้
· ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
· ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ ตนนับถือ
และศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติ ตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
· ปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีและธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนนับถือ
· หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
· ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีมีค่านิยมที่ดีงาม และธำรง
รักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย
และสังคมโลกอย่างสันติสุข
· การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้
ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข
· เศรษฐศาสตร์
· บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากร
ที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจ
หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
· สถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ ความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
· ประวัติศาสตร์
· เวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สามารถใช้วิธีการทาง
ประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
· พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์
และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์
· ชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและ
ธำรงความเป็นไทย
· ภูมิศาสตร์
· โลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน
ในระบบของธรรมชาติใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป
และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ
· ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้
เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อสอบ
3. วิชาภาษาอังกฤษ (80
ข้อ)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ
ดังนี้
· Listening/Speaking Skills – Situation dialogues
· Everyday communication
· Reading Skills – Graph/chart/diagram/table
· Academic
· General
· Writing skills – Paragraph organization
· Academic
· General
ข้อสอบ
4. วิชาคณิตศาสตร์ 1 (30
ข้อ)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ
ดังนี้
· ความรู้พื้นฐาน
· เซตและการดำเนินการของเซต ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ความสัมพันธ์
และฟังก์ชั่น
· ระบบจำนวน
· จำนวนเต็ม – (ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น) การหารและขั้นตอนการหาร ห.ร.ม. และ
ค.ร.น
· จำนวนจริง – การแก้สมการ และอสมการ ของพหุนามตัวแปรเดียว
และในรูปค่าสัมบูรณ์
· จำนวนเชิงซ้อน – การดำเนินการของจำนวนเชิงซ้อน จำนวน เชิงซ้อน
ในรูปเชิงขั้วและการหารากที่ n การแก้สมการพหุนาม ที่มีรากที่เป็นจำนวนเชิงซ้อน
· เรขาคณิต
· เรขาคณิตวิเคราะห์ – เส้นตรง วงกลม วงรีพาราโบลา และไฮเปอร์โบลา
· เวกเตอร์ – เวกเตอร์ใน 2 และ 3 มิติการบวก ลบ การคูณเชิง สเกลาร์
และการคูณเชิงเวกเตอร์
· ตรีโกณมิติ – ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติและฟังก์ชันผกผัน
สมการรีโกณมิติกฎของโคไซน์และไซน์
· พีชคณิต
· เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ – สมบัติของเมทริกซ์มิแนนต์
และดีเทอร์มิแนนท์ การดำเนินการตามแถว การหาตัวผกผันการคูณของเมทริกซ์
และการแก้ระบบสมการ
· ฟังก์ชันเอกโพเนนเซียล – เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
ตรรกยะ สมบัติของเลขยกกำลัง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล สมการ
และอสมการเอกซ์โพเนนเซียล
· ฟังก์ชันลอการิทึม – ลอการิทึม และสมบัติของลอการิทึม
ฟังก์ชันลอการิทึม สมการและอสมการลอการิทึม
· ความน่าจะเป็นและสถิติ
· ความน่าจะเป็น – วิธีเรียงสับเปลี่ยน และวิธีจัดหมู่ ทฤษฎีบทวินาม
ความน่าจะเป็น และกฎพื้นฐานที่สำคัญ
· การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น – ค่ากลางของข้อมูล
การวัดตำแหน่งที่และการวัดการกระจายของข้อมูล
ความสัมพันธ์ระหว่างการแจกแจงความถี่ค่ากลาง ข้อมูล และการกระจายของข้อมูล
· การแจกแจงปกติค่ามาตรฐาน – การแจกแจงปกติ และเส้งโค้ง
· แคลคูลัส
· ลำดับและอนุกรม – การลู่เข้าของลำดับและอนุกรม
· ลิมิต – ลิมิต และความต่อเนื่อง
· อนุพันธ์ – อนุพันธ์และสมบัติของอนุพันธ์ความชัน อนุพันธ์ของ
ฟังก์ชันประกอบ การประยุกต์
· ปริพันธ์ – ปริพันธ์ไม่จำกัดเขต ปริพันธ์จำกัดเขต
การหาพื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง
· ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
· เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในสาระที่ 1-6 เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ข้อสอบ
5. วิชาฟิสิกส์ (25 ข้อ)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ
ดังนี้
· กลศาสตร์ – จนศาสตร์แรงและการเคลื่อนที่แรงต้านการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่แบบวงกลม
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบมีคาบ (การเคลื่อนที่แบบกวัดแกว่ง)
การหมุน สมดุล งาน-พลังงาน โมเมนตัม และการชน
· สมบัติของสสาร – ความยืดหยุ่น กลศาสตร์ของไหล คลื่น แสง เสียง
· ไฟฟ้า – ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสสลับ
· แม่เหล็ก – แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็ก การหนี่ยวนำมอเตอร์/ไดนาโม
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
· ฟิสิกส์ยุคใหม่ – แบบจำลองอะตอม ฟิสิกส์ควอนตัม สมการปฏิกิริยา
นิวเคลียร์การสลายตัวของนิวเคลียส
ข้อสอบ
6. วิชาเคมี (50 ข้อ)
· ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ ดังนี้
· อะตอมและตารางธาตุ
· พันธะเคมี
· สมบัติของธาตุและสารประกอบ
· ปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมี
· ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
· อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
· สมดุลเคมี
· กรด-เบส
· ไฟฟ้าเคมี
· ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
· เคมีอินทรีย์
· เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
· สารชีวโมเลกุล
ข้อสอบ
7. วิชาชีววิทยา (80
ข้อ)
· ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ ดังนี้
· สิ่งมีชิวิตกับการดำรงชีวิต
· ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
· เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
· เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
· ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารให้ได้พลังงาน
· ระบบหมุนเวียนเลือด
· ระบบขับถ่าย
· ระบบหายใจ
· การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
· การรับรู้และการตอบสนอง
· ระบบต่อมไร้ท่อ
· การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
· ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
· โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
· การสังเคราะห์ด้วยแสง
· การสืบพันธุ์ของพืชดอก
· การตอบสนองของพืช
· การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
· ยีนและโครโมโซม
· พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
· วิวัฒนาการ
· ความหลากหลายทางชีวภาพ
· ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
· ดุลยภาพของระบบนิเวศ
· ประชากรและกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิต
· พฤติกรรมสัตว์
· มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
ข้อสอบ
8. วิชาคณิตศาสตร์ 2 (30
ข้อ)
· ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ ดังนี้
· จำนวนและการดำเนินการ
· จำนวนจริง
· ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง
· รากที่ n ของจำนวนจริง
และเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็น จำนวนตรรกยะ
· การประมาณค่า
· การวัด
· อัตราส่วนตรีโกณมิติและการนำไปใช้
· พีชคณิต
· เซตและการดำเนินการของเซต
· การให้เหตุผลแบบอุปนัย และนิรนัย
· ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
· กราฟความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
· สมการและอสมการตัวแปรเดียวของพหุนามดีกรีไม่เกินสอง
· การนำกราฟไปใช้ในการแก้สมการและอสมการ
· ลำดับ และการหาพจน์ทั่วไปของลำดับ
· ลำดับ และอนุกรม เลขคณิต และเรขาคณิต
· ความน่าจะเป็นและสถิติ
· การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
· ค่ากลางของข้อมูล
· การวัดการกระจายของข้อมูล
· การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล
· กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ
· ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ข้อสอบ
9. วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (50 ข้อ)
· ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบ ดังนี้
· พันธุกรรม
· สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
· ความหลากหลายทางชีวภาพ
· อยู่ดีมีสุข
· อยู่อย่างปลอดภัย
· ธาตุและสารประกอบ
· ปฏิกิริยาเคมี
· สารชีวโมเลกุล
· ปิโตรเลียม
· พอลิเมอร์
· การเคลื่อนที่
· แรงในธรรมชาติ
· คลื่นกล
· เสียง
· คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
· พลังงานนิวเคลียร์
· โครงสร้างโลก
· การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
· แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
· ธรณีประวัติ
· กำเนิดเอกภพ
· ดาวฤกษ์
· ระบบสุริยะ
· เทคโนโลยีอวกาศ
· กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
GAT/PAT คืออะไร
คือการสอบความถนัดทั่วไป GAT ซึ่งย่อมาจากคำว่า (General Aptitude Test) หรือการทดสอบความถนัดทั่วไป ส่วน PAT คือการสอบความถนัดด้านวิชาการ
(Professional A Aptitude Test หรือ PAT) คือ การสอบวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย และข้อสอบจะแยกเป็น 2 ตอน เพื่อจะได้เน้น การเขียน
การอ่าน การคิดวิเคราะห์เป็นหลักมากกว่า และก็จะมีการสอบสื่อสารภาษอังกฤษอีกด้วย
รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา การสอบ
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา (ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา (ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ GAT
จะเป็นปรนัยและอัตนัย
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
3.สอบปีละหลายครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
รายละเอียดเกี่ยวกับ PAT
ย่อมาจาก Professional Aptitude Test
เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็น 6 ชุด ประกอบด้วย
ย่อมาจาก Professional Aptitude Test
เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็น 6 ชุด ประกอบด้วย
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
- เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus ฯลฯ
- ลัษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
- เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus ฯลฯ
- ลัษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
- เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ
- ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ
- เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ
- ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์
- เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ
- ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Preceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
- เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ
- ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Preceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
- เนื้อหา เช่น Architectural Math and Sciences ฯลฯ
- ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability
- เนื้อหา เช่น Architectural Math and Sciences ฯลฯ
- ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability
PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
- เนื้อหา เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
- ลักษณะข้อสอบ ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
- เนื้อหา เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
- ลักษณะข้อสอบ ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
- เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์ ฯลฯ
- ลักษณะ ข้อสอบ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
- เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์ ฯลฯ
- ลักษณะ ข้อสอบ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่
2
- เนื้อหา จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
- ลักษณะข้อสอบ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills
- เนื้อหา จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
- ลักษณะข้อสอบ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills
ลักษณะข้อสอบ PAT
- จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
การจัดสอบ
- เมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
- เมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
ข้อสอบ GAT เชื่อมโยง
Gat TH from Manop Amphonyothin
Cr:http://p-dome.com/all-gat-by-ajklui/
Cr:http://p-dome.com/all-gat-by-ajklui/
ข้อสอบ GAT อังกฤษ
ข้อสอบ PAT 2
ข้อสอบ PAT 5
ข้อสอบ PAT 6
ข้อสอบ PAT 7
ข้อมูลผลสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ. 2558 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่นำมาเผยแพร่อย่างกว้างขวางโดยทีเคพาร์คนั้น ถูกพูดถึงผ่านสื่อทุกแขนง และรับรู้ทั่วไปไล่เรื่อยไปจนถึงระดับผู้นำประเทศ หากมองเฉพาะตัวเลขสถิติเพียงอย่างเดียวก็ให้แง่มุมชวนคิดหลายอย่าง ยิ่งลองใช้ข้อมูลชุดเดียวกันแต่คิดลึกลงไปอีกชั้น ก็จะยิ่งพบข้อเท็จจริงอีกหลายประเด็นที่มีทั้งความน่าสนใจและน่าตกใจไปพร้อมกัน
ปริมาณการอ่านลดลง ความเหลื่อมล้ำในการอ่านเพิ่มขึ้น
จากผลการสำรวจพบว่า ประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป มีอัตราการอ่านร้อยละ 77.7 (48.4 ล้านคน) หรือมีคนอ่านลดลงจากการสำรวจรอบที่แล้ว (พ.ศ. 2556) ประมาณ 2 ล้านคนเศษ และมีผู้ไม่อ่านร้อยละ 22.3 (13.9 ล้านคน) เพิ่มขึ้นจากการสำรวจรอบที่แล้วประมาณ 2 ล้านคนเศษเช่นกัน
สาเหตุของความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มีความเป็นไปได้หลายกรณี ที่น่าจะชัดเจนคือกิจกรรมการรณรงค์สาธารณะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณการอ่าน กล่าวคือ ในการสำรวจเมื่อปี 2556 อยู่ในห้วงเวลาที่กรุงเทพมหานครได้รับเลือกจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองหนังสือโลก (World Book Capital) จึงมีข่าวคราว กิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจสังคมการเมือง ก็อาจมีผลต่อการอ่านของประชากรอยู่ไม่น้อย เนื่องเพราะในปี 2557 ต่อเนื่องถึงตลอดปี 2558 ปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคือง และบรรยากาศการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นปรากฏการณ์ที่ล้วนส่งผลทางลบต่อการนำเสนอและการรับรู้ข่าวสาร ตลอดจนการอ่านและการเขียนทั้งสิ้น
ในทางกลับกัน ถึงแม้ว่าจำนวนคนอ่านจะลดลง แต่ความเหลื่อมล้ำของการอ่านก็ยังคงมีอยู่ และเป็นความเหลื่อมล้ำที่มีช่องว่างเพิ่มมากขึ้น พิจารณาได้จากอัตราการอ่านของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเทียบกับนอกเขตเทศบาล เท่ากับร้อยละ 82.9 และ 73.4 หรือต่างกัน 9.5% เปรียบเทียบกับข้อมูลเมื่อสองปีก่อน ความแตกต่างนี้เท่ากับ 8% หมายความว่าช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้อาศัยอยู่ในเขตเมืองและนอกเมืองนั้นถ่างกว้างขึ้น แสดงว่าคนอ่านคือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีโอกาสเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมได้มากกว่า
ส่วนคนกรุงเทพฯ มีอัตราการอ่านสูงกว่าคนในภาคอื่นๆ อย่างชัดเจน (คิดเป็น 93.5% ขณะที่ภาคอื่นอยู่ในระดับ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ - ต่ำสุดคือภาคอีสาน 73.0% รองลงมาคือภาคเหนือ 74.3%)
ตัวเลขที่แตกต่างกันของแต่ละภาคนั้นอาจมาจากหลายสาเหตุ มิใช่เหตุปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น ซึ่งควรมีการศึกษาวิจัยโดยละเอียดต่อไป อาทิ ปัญหาการเข้าถึงหนังสือและสื่อการอ่าน ปัญหาการเข้าถึงแหล่งการอ่าน ปัญหาคุณภาพหนังสือหรือเนื้อหาสาระที่อาจไม่สอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่นั้นๆ และปัญหาเชิงสังคมวัฒนธรรม เช่น ข้อจำกัดด้านภาษา ศาสนา ความเชื่อ และชาติพันธุ์ เป็นต้น
สื่อใหม่และไอทีทำให้คนใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้น
สถิติการอ่านปี 2558 พบว่าเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการอ่านเพิ่มสูงขึ้น เท่ากับ 66 นาทีต่อวัน (เทียบกับเมื่อสองปีก่อนเท่ากับ 37 นาทีต่อวัน) หรือเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เหตุผลสำคัญที่ระยะเวลาในการอ่านเพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพราะการสำรวจครั้งนี้ได้มีการกำหนดขอบเขตนิยามคำว่า “การอ่าน” ที่กว้างขวางครอบคลุมไปถึงสื่อใหม่ด้วย เช่น สื่อสังคมออนไลน์/SMS/E-mail มิได้จำกัดเพียงเฉพาะสื่อหนังสือที่เป็นกระดาษ ดังนั้นสื่อใหม่ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นจึงส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมและปริมาณการอ่าน เห็นได้อย่างชัดเจนในกลุ่มเยาวชน (อายุ 15-24 ปี) ซึ่งใช้เวลาอ่านมากที่สุดถึง 94 นาทีต่อวัน
แต่... ความนิยมอ่านหนังสือรูปแบบกระดาษก็ลดลงไม่มากนัก เพราะมีผู้อ่านสูงถึงร้อยละ 96.1 ยังคงนิยมอ่านหนังสือที่เป็นรูปเล่มหรือเอกสาร (ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนประมาณ 3%) ขณะที่ประมาณร้อยละ 55 อ่านเนื้อหาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์หลากหลายเช่น โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ อีบุ๊ค อีเมล ไฟล์ข้อมูลและซีดี ผ่านอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ทั้งพีซีคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต และคาดว่าความนิยมอ่านสื่อใหม่ผ่านอุปกรณ์ไร้สาย (mobile devices) น่าจะเพิ่มสูงขึ้นในการสำรวจครั้งต่อๆ ไป
จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ไอทีส่งผลกระทบเชิงลบต่อการอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษบ้างแต่ก็นับว่าน้อยมาก แต่กลับทำให้มีแนวโน้มที่คนจะอ่านมากขึ้น (หรือใช้เวลาอ่านนานขึ้น) เพราะผู้อ่านมีช่องทางเข้าถึงการอ่านได้หลากหลายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
เหนือ-อีสาน อ่านน้อย แต่ใช้งานห้องสมุดมากกว่าภาคอื่น
ว่าด้วยเรื่องของห้องสมุดและแหล่งการอ่าน จากผลสำรวจพบว่าผู้อ่านอายุ 6 ปีขึ้นไป มีการใช้บริการห้องสมุดด้วยการยืมหรือไปอ่านที่ห้องสมุด เพียงร้อยละ 12.9 (ประมาณ 6.2 ล้านคน) ในจำนวนนี้ใช้ห้องสมุดโรงเรียนหรือสถานศึกษามากที่สุดคือประมาณ 4.3 ล้านคน ใช้ห้องสมุดประชาชน/ที่อ่านหนังสือชุมชน/แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ประมาณ 1.7 ล้านคน
ที่น่าสนใจคือภูมิภาคที่มีผู้อ่านใช้บริการห้องสมุดมากที่สุดคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เท่ากันทั้งสองภาคคือร้อยละ 17.7 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยภาพรวมประเทศที่ร้อยละ 12.9) ขณะที่ กทม. และภาคกลาง แม้จะมีอัตราการอ่านสูง แต่การใช้ประโยชน์จากห้องสมุดกลับน้อยมากเพียงร้อยละ 8.5 และ 8.6 ตามลำดับ ตัวเลขนี้ชัดเจนว่าในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณการอ่านน้อย จะมีอัตราการเข้าใช้ห้องสมุดมากกว่าพื้นที่ที่มีปริมาณการอ่านมาก
ภายใน 6 ปีจะไม่มีใครไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุด
ถ้าดูตัวเลขผลสำรวจสถานที่ที่คนนิยมอ่าน จะพบว่า ห้องสมุดสาธารณะก็ไม่ใช่แหล่งที่ผู้คนนิยมใช้เป็นสถานที่อ่านเท่าไรนัก คือมีเพียงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับ บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา ซึ่งเท่ากับร้อยละ 84.3, 25.2 และ 21.7 ตามลำดับ หรือมีผู้ใช้ห้องสมุดเป็นสถานที่อ่านประมาณ 5.8 แสนคนเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากประมาณ 1 ล้านคนเมื่อปี 2554 เหลือ 8 แสนคนเศษเมื่อปี 2556 แต่หากรวมเอาที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน/ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ในชุมชน อีกร้อยละ 3 เท่ากับว่ามีผู้อ่านใช้ห้องสมุดกับแหล่งที่คล้ายห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับอ่าน รวมกันเท่ากับร้อยละ 4.2 หรือประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งก็ยังนับว่าน้อยมากอยู่ดี
ผลสำรวจการอ่านในประเด็นนี้ตอกย้ำคำถามโตๆ ว่า ถึงเวลาหรือยังที่ห้องสมุดของไทยจำเป็นต้องปรับตัว เพราะหากตัวเลขจำนวนผู้ใช้ห้องสมุดลดลงในอัตราข้างต้นอย่างคงที่ นั่นหมายความว่าภายใน 6 ปีนับจากนี้จะไม่มีผู้ใช้บริการไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดเหลืออยู่อีกเลย
การลดลงของปริมาณผู้ใช้ห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่งการอ่านและการค้นคว้าข้อมูลเช่นนี้นับเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะการแพร่หลายของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น แม้แต่ห้องสมุดในหลายประเทศต่างก็พยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่เพื่อความอยู่รอด รูปแบบหลักของการปรับตัวของห้องสมุดในต่างประเทศ คือการเปลี่ยนบทบาทจากสถานที่อ่านและยืมคืนหนังสือเพียงอย่างเดียว ไปเป็นพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ ที่แตกต่างหลากหลายนอกเหนือไปจากการอ่าน
เด็กไทย 450,000 คน อ่านไม่ออก-อ่านไม่คล่อง
คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปที่ไม่อ่านหนังสือ ให้เหตุผลที่ไม่อ่านว่าเป็นเพราะอ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 20.6 หรือประมาณ 2.8 ล้านคน ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนประมาณ 3 แสนคน แต่ที่น่าสนใจอยู่ที่กลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี หรือผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ป.1-ม.3 การสำรวจครั้งนี้พบว่ามีผู้ระบุว่าอ่านไม่ออกถึงร้อยละ 31.7 คิดเป็นจำนวน 2 แสนคนเศษ หากรวมเด็กกลุ่มอายุเดียวกันนี้ที่ตอบว่าไม่อ่านเพราะ อ่านไม่คล่อง/อ่านได้เพียงเล็กน้อย อีกร้อยละ 34.7 จำนวนเด็ก ป.1-ม.3 ที่อ่านไม่ออก/อ่านไม่คล่อง/อ่านได้เพียงเล็กน้อย จะสูงถึง 4.5 แสนคน เป็นภารกิจสำคัญที่หน่วยงานหลักอย่างกระทรวงศึกษาธิการ คงต้องเร่งหาแนวทางแก้ไข
คนไทยขาดนิสัยรักการอ่าน 3,400,000 คน
อีกเหตุผลหนึ่งที่คนไม่อ่าน คือ ไม่ชอบหรือไม่สนใจอ่าน (อ่านออก แต่ไม่ชอบอ่าน) มีร้อยละ 24.8 หรือประมาณ 3.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนถึง 1.4 ล้านคน นี่คือกลุ่มซึ่งควรได้รับการส่งเสริมปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน นอกเหนือไปจากกลุ่มที่รักการอ่านหรืออ่านหนังสือจนเป็นนิสัยอยู่แล้ว พูดง่ายๆ นี่คือกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงานภาคีส่งเสริมการอ่าน รวมถึงทีเคพาร์คด้วย
หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มเยาวชนช่วงอายุระหว่าง 15-24 ปีที่ไม่อ่าน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 9.8 แสนคน ใกล้เคียงกับผลการสำรวจครั้งก่อน - - เพิ่มขึ้นประมาณ 3 หมื่นคน ในจำนวนนี้ระบุว่าไม่ชอบหรือไม่สนใจอ่าน (ขาดนิสัยรักการอ่าน) สูงถึง 3.6 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น 1.1 แสนคนเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งที่แล้ว อาจกล่าวได้ว่าวัยรุ่นกลุ่มนี้ควรได้รับการส่งเสริมการอ่านที่เข้มข้นยิ่งกว่ากลุ่มวัยรุ่นที่ชอบอ่านหนังสือหรือเดินเข้าห้องสมุดเป็นประจำเสียอีก
เพราะเหตุใด??? เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง
หนังสือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สามารถให้ความรู้ได้หลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาและด้านความรู้รอบตัวที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ล้วนแต่เป็นความรู้ที่มาจากการอ่านหนังสือทั้งนั้น
แต่คนในปัจจุบันไม่ได้ให้ความสำคัญกับหนังสือ เนื่องจากมีสื่อและสิ่งเร้าต่างๆ
ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมากขึ้นพบว่าเด็กไทยอ่านหนังสือลดลงเกือบทุกวัน
เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความเป็นอยู่ การศึกษาและค่านิยมต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันอีกด้วย
ในขณะเดียวกันการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
ในสังคมนั้นไม่ได้มาจากการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว
แต่หากจะมีสื่อชนิดอื่นที่มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นมาในสังคมอีกมากมาย
เช่น อินเตอร์เน็ต อีเมล์
มือถือคอมพิวเตอร์แบบพกพา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้
และความสามารถสืบค้นหาความรู้จากสื่อนั้นได้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านวิชาการ
บันเทิง หรือประสบการณ์ต่างๆ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ทุกคนมีช่องทางในการค้นหาความรู้มากขึ้นเป็นผลให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงและหันมาศึกษาหาความรู้จากด้านอื่นมากขึ้น
เพราะมีความสะดวกสบาย และประหยัดเวลา นอกจากนี้การที่เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงยังเป็นผลมาจากการที่ถูกสิ่งต่างๆ
ที่น่าดึงดูดและน่าสนใจกว่า เช่น โลกอินเตอร์เน็ตต่างๆ
ที่มีอิทธิพลต่อคนในปัจจุบันมาก เนื่องจากการมีค่านิยมที่ผิดๆ คือ
การที่คิดว่าการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ล้าสมัยรวมไปถึงการใช้เวลาว่างที่ไม่ถูกต้องในทุกทุกวัน (นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร
นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)
สาเหตุที่เด็กไทยใช้เวลาว่างอ่านหนังสือน้อยลง
เกิดจากการทำกิจกรรมอื่นๆ
ที่เบียดบังเวลาอ่านหนังสือ ในแต่ละวันเด็กไทยใช้เวลาดูโทรทัศน์วันละ 3-6 ชั่วโมง เล่นเกมวันละ1-2 ชั่วโมง
และพูดคุยโทรศัพท์ แชทผ่านทางมือถือวันละ 2-4 ชั่วโมง
ซึ่งการใช้โทรศัพท์เป็นภัยคุกคามการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในด้านการอ่านหนังสือและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
ดังนั้นแนวทางการส่งเสริมให้เด็กหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น
ก็จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อช่วงชิงเวลาการคุยโทรศัพท์เปลี่ยนมาอ่านหนังสือให้ได้
ถ้าไม่เร่งแก้ปัญหานี้ก็จะยิ่งทำให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลเสียต่อตนเองและสังคมไทยในปัจจุบัน
การที่มีสิ่งเร้าทำให้เด็กไทยทั่วทุกภาคของประเทศอ่านหนังสือลดลง
และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ หาไม่ได้รับการแก้ไขอาจจะทำให้เด็กไม่มีนิสัยรักการอ่าน
หากเปรียบเทียบกับกราฟตัวอย่างพบว่า
เด็กเขตกรุงเทพมหานครยังมีนิสัยรักการอ่านเพราะมีการแข่งขันกันสูง
แต่ที่น่าห่วงคือนอกเขตในจังหวัดอื่นแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคกลางที่มีแนวโน้มการอ่านหนังสือลดลงเพราะอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการที่ทำให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ
เช่น ไม่มีการแข่งขันกันสูง พ่อและแม่ไม่มีเวลาสอนหนังสือ
การที่เด็กอ่านหนังสือแค่วันละ 27-29 นาที
เป็นการอ่านหนังสือที่ใช้เวลาน้อยมาก และเป็นเรื่องที่น่าตกใจ
เด็กส่วนใหญ่ชอบใช้เวลาว่างในการเล่นเกม เล่นอินเตอร์เน็ต คุยโทรศัพท์
ไม่สนใจที่จะทบทวนบทเรียนหรืออ่านหนังสือ
และในกลุ่มวัยทำงานก็มักจะไม่อ่านหนังสือหรืออ่านเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับงานของตนเท่านั้น
สภาพปัญหาเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาในประเทศไทยยังไม่สามารถทำให้ผลผลิตของการศึกษากลายเป็นผลผลิตที่มองเห็นความจำเป็นของการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ เด็กไม่ฉลาดชาติก็ไม่เจริญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น